วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

คำราชาศัพท์ 5


คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

การใช้ถ้อยคำสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องเทิดทูนนี้ จะมีคำศัพท์โดยเฉพาะซึ่งคำศัพท์เหล่านี้จะมีทั้งคำนาม คำสรรพนามและคำกริยาคำศัพท์ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือคำราชาศัพท์นี้นำเอาคำในภาษาลี สันสกฤต เขมร และคำไทยมาใช้ มีวิธีการ นำเอามาใช้คือ

1. ใช้คำว่า พระบรม หรือ พระบรมราช นำหน้าคำนั้นเพื่อให้ทราบว่าคำนั้นมีความสำคัญยิ่ง เพื่อต้องการเชิดชูพระราชอำนาจ หรือพระราชกฤษดาภินิหาร เช่น พระบรมราช-โองการ พระบรมราชวัง พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุญาต

2. ใช้คำ พระราช นำหน้าคำนั้น เพื่อให้เป็นคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ เช่น พระ-ราชพาหนะ พระราชประวัติ พระราชดำริ พระราชประสงค์ เป็นต้น

3. ใช้คำ พระ นำหน้าคำนามทั่วไป เพื่อให้ทราบว่าเป็นคำราชาศัพท์ เช่น

3.1 เครื่องราชูปโภค และสิ่งของที่เป็นราชาศัพท์ เช่น พระภูษา พระกลด พระ-สนับเพลา พระยี่ภู่ พระบัญชร พระโอสถ

3.2 อวัยวะ เช่น พระพักตร์ พระเศียร พระบาท พระศอ พระขนง พระเนตร พระกรรณ พระปราง พระพาหา พระอุทร

3.3 ใช้กับคำนามที่ไม่มีราชาศัพท์ใช้ เช่น พระแท่น พระที่ พระนม พระอู่ พระ-เก้าอี้ พระสหาย พระพี่เลี้ยง พระอาจารย์

4. ใช้คำ ราช นำหน้าคำ เพื่อให้ทราบว่าเป็นพระมหากษัตริย์ เช่น ราชการ ราชกิจ ราชทูต ราชสมบัติ ราชโอรส ราชธิดา ราชพัสดุ ราชธานี ราชรถ

5. ใช้คำ ทรง ประกอบข้างหลังคำนามสามัญ เพื่อให้เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น ช้าง-ทรง ม้าทรง รถทรง เรือทรง เครื่องทรง

6. ใช้คำ ทรง นำหน้าคำเพื่อทำให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทรงพระอักษร ทรงดนตรี ทรงม้า ทรงเมตตา

7. ต้น ใช้ประกอบท้ายคำนามสามัญ เพื่อให้ทราบว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ เช่นช้างต้น ม้าต้น เรือต้น รถต้น เครื่องต้น

8. หลวง ใช้ประกอบท้ายคำนามสามัญ เพื่อให้เป็นคำนามราชาศัพท์ และแสดงว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ เช่น ลูกหลวง หลานหลวง ข้าหลวง ของหลวง ม้าหลวง สวน-หลวงเรือนหลวง วังหลวง ข้อพึงสังเกต คำว่า “หลวง” ที่เป็นคำสามัญ แปลว่า “ใหญ่” เมื่อใช้ประกอบคำอื่นไม่เป็นราชาศัพท์ เช่น เมียหลวง ทะเลหลวง ถนนหลวง เขาหลวง และคำว่า “ในหลวง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น