วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

คำราชาศัพท์


จุดประสงค์ปลายทาง

อธิบายความหมายของคำราชาศัพท์ได้

จุดประสงค์นำทาง

บอกคำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ได้บอกคำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระภิกษุได้เปลี่ยนคำสามัญเป็นคำสุภาพได้

ปัจจุบัน คำราชาศัพท์ถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ และใช้ได้อย่างถูกต้อง



คำราชาศัพท์ 1


ความหมายของคำราชาศัพท์


คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็นลักษณะพิเศษของภาษาไทยโดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

2. พระบรมวงศานุวงศ์

3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร

4. ขุนนาง ข้าราชการ

5. สุภาพชน

บุคคลในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ 4 และ 5 ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นการศึกษาเรื่องคำราชศัพท์ จึงแบ่งเป็น 2 ตอน ใหญ่ๆคือ

ตอนที่ 1 ศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์

ตอนที่ 2 ศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์

คำราชาศัพท์ 2


มูลเหตุที่ทำให้มีคำราชาศัพท์
สังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคา-รพในผู้เป็นประมุขเพียงใด เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

คำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ 5 แห่งสุโขทัย เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น ราชอาสน์ พระสหาย สมเด็จ ราชกุมาร เสด็จ บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเษก เป็นต้น บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ทรงนิยมเขมร ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่ขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤต ไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง จึงอยู่ในประเภทราชาศัพท์ และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัย จึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นอาณาจักรสุโขทัยนี้ ก็คงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว

คำราชาศัพท์ 3




การเรียนรู้เรื่องคำราชาศัพท์
ตามที่หลายคนคิดว่าคำราชาศัพท์เป็นเรื่องของในรั้วในวัง เป็นเรื่องของผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทนั้น ทำให้คิดต่อไปอีกว่า คำราชาศัพท์เป็นเรื่องยากซึ่งเมื่อก่อนอาจเป็นจริง แต่ปัจจุบันคำราชาศัพท์เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว แม้มิได้ใช้มากเท่ากับภาษาสามัญที่ใช้อยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันแต่ทุกคนโดยเฉพาะผู้มีการศึกษาก็ต้องมี ีโอกาสที่จะสัมผัสกับคำราชาศัพท์ทุกวัน ไม่โดยตรงก็โดยทางอ้อม โดยเฉพาะทางสื่อมวลชน การเรียนรู้วิธีใช้คำราชาศัพท์นั้น กล่าวโดยสรุป ต้องเรียนรู้ใน 2 ประการ คือ เรียนรู้คำประการหนึ่งกับเรียนรู้วิธีอีกประการหนึ่ง


1. เรียนรู้คำ คือ ต้องเรียนรู้คำราชาศัพท์


2. เรียนรู้วิธี คือ ต้องเรียนรู้วิธีหรือเรียนรู้ธรรมเนียมการใช้คำราชาศัพท์


ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์


เพราะเหตุที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดของประเทศมาแต่โบราณ พระเจ้าแผ่นดินทรงใกล้ชิดกับประชาชนอย่างแนบแน่นประการหนึ่ง คำราชาศัพท์นั้นเป็นแบบอย่างวัฒนธรรมอันดีทางด้านการใช้ภาษาไทยประการหนึง และการอ่านหรือศึกษาวรรณคดีก็ดี การรับสารสื่อมวลชนในปัจจุบันก็ดี เหล่านี้ล้วนต้องมีคำราชาศัพท์เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมออีกประการหนึ่ง ดังนั้นการเรียนรู้คำราชาศัพท์จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย ดังจะเห็นได้ดังต่อไปนี้
1. ประโยชน์ทางตรง เป็นประโยชน์ที่เกิดจากการตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้า อันได้แก่


- ประโยชน์จากการใช้คำราชาศัพท์ถูกต้องที่เรียกว่าใช้คำราชาศัพท์ถูกต้องนั้น คือ ถูกต้องตามบุคคลที่ใช้ว่าบุคคลใดควรใช้ราชาศัพท์ขั้นไหน อย่างไร ประการหนึ่ง ถูกต้องตามโอกาส คือ โอกาสใดใช้คำราชาศัพท์หรือไม่เพียงใด ประการหนึ่ง และถูกต้องตามวิธีการใช้คือ ใช้ถูกต้องตามแบบแผนที่นิยมนั้นก็อีกประการหนึ่ง การใช้ราชาศัพท์ต้องใช้ทั้งความรุ้และประสบการณ์เป็นดุลยพินิจให้ถูกต้อง


- ประโยชน์จากการเข้าใจที่ถูกต้องไม่ว่าจากการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ เช่น วรรณกรรมทั่วไป วรรณคดี หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ทั้งหลาย โทรทัศน์ วิทยุ ตลอดจนสิ่งบันเทิงทั้งหลาย มีภาพยนต์ ละคร โขน ลิเก เป็นต้น เพราะการรับรู้ รับฟัง บางครั้งต้องมีสิ่งที่เรียกว่า คำราชาศัพท์ร่วมอยู่ด้วยเสมอ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ 2. ประโยชน์โดยทางอ้อม เป็นประโยชน์ผลพลอยได้ แม้ตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้าหรือไม่ตั้งเป้าหมายไว้ก็ตาม คือ เมื่อรู้คำราชาศัพท์ดี ถูกต้อง ฟังหรืออ่านเรื่องราวที่มีคำราชาศัพท์เข้าใจผลประโยชน์พลอยได้ ก็จะเกิดขึ้นเสมอ ดังนี้


- ธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงานของชาติไว้คือ รักษาให้คงอยู่ไม่เสื่อมสูญ ถือเป็นการธำรงรักษาวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ


- เพิ่มความมีเสน่ห์ในตัวบุคคลคือ บุคคลผู้รู้และใช้คำราชาศัพท์ได้อย่างถูกต้อง เป็นการแสดงออกซึ่งความมีวัฒนธรรมอันดีงามทางภาษาคำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์

คำราชาศัพท์ 4


ภาษาที่ใช้ในคำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์มิได้มีที่มาจากภาษาไทยภาษาเดียว ด้วยว่าการใช้คำราชาศัพท์เป็นการใช้ด้วยตั้งใจ จะทำให้เกิดความรู้สึกยกย่อง เทิดทูน จึงได้เจาะจงรับคำในภาษาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมาใช้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะภาษาที่นับถือกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ คำราชาศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีที่มาจากภาษาต่างประเทศมากมาย อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำราชาศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ใช้คำภาษาไทยแท้ ซึ่งเป็นคำสามัญยกระดับขึ้นเป็นคำราชาศัพท์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าคำราชาศัพท์นั้นมีที่มาจากทั้งภาษาต่างประเทศและภาษาไทยของเราเอง ดังจะได้พิจารณาต่อไปนี้จากภาษาต่างประเทศตั้งแต่สมัยโบราณมา คนไทยได้ติดต่อกับคนต่างชาติต่างภาษามากมาย ในบรรดาภาษาทั้งหลายเหล่านั้น มีบางภาษาที่เรายกย่องกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งก็ได้แก่ ภาษาเขมร บาลี และสันกฤต ภาษาอื่น ๆ ก็นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์บ้าง แต่ก็ไม่มากและสังเกตได้ชัดเจนเท่า 3 ภาษาที่กล่าวแล้ว

คำราชาศัพท์ 5


คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

การใช้ถ้อยคำสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องเทิดทูนนี้ จะมีคำศัพท์โดยเฉพาะซึ่งคำศัพท์เหล่านี้จะมีทั้งคำนาม คำสรรพนามและคำกริยาคำศัพท์ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือคำราชาศัพท์นี้นำเอาคำในภาษาลี สันสกฤต เขมร และคำไทยมาใช้ มีวิธีการ นำเอามาใช้คือ

1. ใช้คำว่า พระบรม หรือ พระบรมราช นำหน้าคำนั้นเพื่อให้ทราบว่าคำนั้นมีความสำคัญยิ่ง เพื่อต้องการเชิดชูพระราชอำนาจ หรือพระราชกฤษดาภินิหาร เช่น พระบรมราช-โองการ พระบรมราชวัง พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุญาต

2. ใช้คำ พระราช นำหน้าคำนั้น เพื่อให้เป็นคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ เช่น พระ-ราชพาหนะ พระราชประวัติ พระราชดำริ พระราชประสงค์ เป็นต้น

3. ใช้คำ พระ นำหน้าคำนามทั่วไป เพื่อให้ทราบว่าเป็นคำราชาศัพท์ เช่น

3.1 เครื่องราชูปโภค และสิ่งของที่เป็นราชาศัพท์ เช่น พระภูษา พระกลด พระ-สนับเพลา พระยี่ภู่ พระบัญชร พระโอสถ

3.2 อวัยวะ เช่น พระพักตร์ พระเศียร พระบาท พระศอ พระขนง พระเนตร พระกรรณ พระปราง พระพาหา พระอุทร

3.3 ใช้กับคำนามที่ไม่มีราชาศัพท์ใช้ เช่น พระแท่น พระที่ พระนม พระอู่ พระ-เก้าอี้ พระสหาย พระพี่เลี้ยง พระอาจารย์

4. ใช้คำ ราช นำหน้าคำ เพื่อให้ทราบว่าเป็นพระมหากษัตริย์ เช่น ราชการ ราชกิจ ราชทูต ราชสมบัติ ราชโอรส ราชธิดา ราชพัสดุ ราชธานี ราชรถ

5. ใช้คำ ทรง ประกอบข้างหลังคำนามสามัญ เพื่อให้เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น ช้าง-ทรง ม้าทรง รถทรง เรือทรง เครื่องทรง

6. ใช้คำ ทรง นำหน้าคำเพื่อทำให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทรงพระอักษร ทรงดนตรี ทรงม้า ทรงเมตตา

7. ต้น ใช้ประกอบท้ายคำนามสามัญ เพื่อให้ทราบว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ เช่นช้างต้น ม้าต้น เรือต้น รถต้น เครื่องต้น

8. หลวง ใช้ประกอบท้ายคำนามสามัญ เพื่อให้เป็นคำนามราชาศัพท์ และแสดงว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ เช่น ลูกหลวง หลานหลวง ข้าหลวง ของหลวง ม้าหลวง สวน-หลวงเรือนหลวง วังหลวง ข้อพึงสังเกต คำว่า “หลวง” ที่เป็นคำสามัญ แปลว่า “ใหญ่” เมื่อใช้ประกอบคำอื่นไม่เป็นราชาศัพท์ เช่น เมียหลวง ทะเลหลวง ถนนหลวง เขาหลวง และคำว่า “ในหลวง"

คำราชาศัพท์ 6


สำหรับเจ้านายตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
1. ในการกราบบังคมทูล ไม่ต้องใช้คำขึ้นต้นและลงท้าย ถ้าเป็นพระยุพราช, พระราชินีแห่งอดีตรัชกาลและสมเด็จเจ้าฟ้า ควรใช้สรรพนามแทนพระองค์ท่านว่า "ใต้ฝ่าละอองพระบาท" ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" และใช้คำรับว่า "พระพุทธเจ้าข้า"

2. เจ้านายชั้นรองลงมา ใช้สรรพนามแทนพระองค์ว่า "ใต้ฝ่าพระบาท" ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "เกล้ากระหม่อม" ใช้คำรับว่า "พระเจ้าข้า" เจ้านายชั้นสมเด็จพระยาและพระยาพานทอง ใช้สรรพนามของท่านว่า "ใต้เท้ากรุณา" ใช้สรรพนามของตนว่า "เกล้ากระหม่อม" ใช้คำรับว่า "ขอรับกระผม"

คำราชาศัพท์หมวดต่างๆ
1. คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย

ผม = พระเกศา

ไหปลาร้า = พระรากขวัญ

จุก = พระโมฬี

นม = พระถัน, พระเต้า

หน้าผาก = พระนลาฎ

ท้อง = พระอุทร

ฟัน = พระทนต์

เอว = บั้นพระองค์, พระกฤษฎี

ลิ้น = พระชิวหา

หลัง = พระขนอง

นิ้วมือ = พระองคุลี

บ่า = พระอังสะ

นิ้วชี้ = พระดรรชนี

ขนระหว่างคิ้ว = พระอุณาโลม

เงา = พระฉายา

จอนหู = พระกรรเจียก

ผิวหน้า = พระราศี

จมูก = พระนาสิก

ปอด = พระปับผาสะ

ปาก = พระโอษฐ์

คาง = พระหนุ

อก = พระอุระ, พระทรวง

หู = พระกรรณ

รักแร้ = พระกัจฉะ

ดวงหน้า = พระพักตร์

สะดือ = พระนาภี

อุจจาระ = พระบังคนหนัก

น้ำตา = น้ำพระเนตร

ต้นขา = พระอุรุ พระอัสสุชล

หัวเข่า = พระชานุ

ต้นแขน = พระพาหุ

แข้ง = พระชงฆ์

ข้อมือ = ข้อพระหัตถ์

ผิวหนัง = พระฉวี

ข้อเท้า = ข้อพระบาท

คิ้ว = พระขนง

ปัสสาวะ = พระบังคนเบา

ลิ้นไก่ = มูลพระชิวหา

ไรฟัน = ไรพระทนต์

นิ้วก้อย = พระกนิษฐา

คอ = พระศอ

เนื้อ = พระมังสา

ขน = พระโลมา

เถ้ากระดูก = พระอังคาร

น้ำลาย = พระเขฬะ

2. คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

ม่าน, มุ้ง = พระวิสูตร

พระสูตร ประตู = พระทวาร

ถาดน้ำชา = ถาดพระสุธารส

คนโทน้ำ = พระสุวรรณภิงคาร

ของเสวย = เครื่อง

ช้อน = ฉลองพระหัตถ์ช้อน

ส้อม = ฉลองพระ

หัตถ์ส้อม ปิ่น = พระจุฑามณี

เหล้า = น้ำจัณฑ์

เสื้อ = ฉลองพระองค์

รองท้า = ฉลองพระบาท

ปืน = พระแสงปืน

ผ้าเช็ดตัว = ซับพระองค์

ผ้าเช็ดหน้า = ซับพระพักตร์

กระจกส่อง = พระฉาย

ที่นอน = พระยี่ภู่

กางเกง = พระสนับเพลา

พระที่ ( ราชวงศ์ )

ไม้เท้า = ธารพระกร

เตียงนอน = พระแท่นบรรทม

น้ำกิน = พระสุธารส

ตุ้มหู = พระกุณฑล

พานหมาก = พานพระศรี

น้ำชา = พระสุธารสชา

ผ้าอาบน้ำ = พระภูษาชุบสรง

ข้าว = พระกระยาเสวย

( พระมหากษัตริย์ ) เข็มขัด = รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง

คำราชาศัพท์ 7


3. คำราชาศัพท์หมวดอากัปกิริยา

ทาเครื่องหอม = ทรงพระสำอาง

ทักทายปราศรัย = พระราชปฏิสันถาร

ถาม = พระราชปุจฉา

ดู = ทอดพระเนตร

ให้ = พระราชทาน

อยากได้ = ต้องพระราชประสงค์

ไปเที่ยว = เสด็จประพาส

จดหมาย = พระราชหัตถเลขา

ไหว้ = ถวายบังคม

แต่งตัว = ทรงเครื่อง

อาบน้ำ = สรงน้ำ

มีครรภ์ = ทรงพระครรภ์

หัวเราะ = ทรงพระสรวล

ตัดสิน = พระบรมราชวินิจฉัย

4. คำราชาศัพท์หมวดราชตระกูล

ปู่, ตา = พระอัยกา

ย่า, ยาย = พระอัยยิกา, พระอัยกี

ลุง (ฝ่ายพ่อ) = พระปิตุลา

ป้า = พระปิตุจฉา

พ่อ = พระชนก ,พระบิดา

แม่ = พระชนนี, พระมารด

พี่ชาย = พระเชษฐา

พี่สาว = พระเชษฐภคินี

ลูกสะใภ้ = พระสุณิสา

น้องชาย = พระอนุชา

พ่อผัว, พ่อตา = พระสัสสุระ

ผัว = พระสวามี

พี่เขย, น้องเขย = พระเทวัน

ลูกเขย = พระชามาดา

คำราชาศัพท์ 8


การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุ

พระภิกษุ ถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลทั่วไป การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุจึงกำหนดไว้ขึ้นอีกต่างหากโดยเฉพาะ การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุโดยทั่วไป มีข้อควรสังเกตคือวิธีใช้แตกต่างจากวิธีใช้ราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ กล่าวคือ สำหรับพระภิกษุนั้นไม่ว่าบุคคลอื่นจะพูดกับท่าน หรือกล่าวถึงท่าน หรือเมื่อท่านพูดเองก็ตาม จะใช้ศัพท์อย่างเดียวกันตลอดไป เช่น คำว่า อาหาร จำวัด เป็นต้น การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุนี้ แบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่พระภิกษุใช้ กับส่วนที่ผู้ที่เป็นฆราวาสใช้กับพระภิกษุ ดังนี้ คำกริยาที่เป็นคำราชาศัพท์ซึ่งจะพบมากในการเขียนและการพูด จะมีข้อสังเกตคือ มักจะใช้คำว่า "ทรง " นำหน้าคำกริยาหรือคำนาม ทำให้กลายเป็นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์ได้ เช่น คำสำหรับพระภิกษุใช้ นอกจากคำศัพท์เฉพาะแล้มีการใช้คำสรรพนามที่ต่างออกไป
การใช้ถ้อยคำสุภาพสำหรับคนทั่วไป
การใช้ถ้อยคำสุภาพสำหรับบุคคลทั่วไป จะต้องรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล โดยคำนึงถึงฐานะความสัมพันธ์ที่มีอยู่ การใช้ถ้อยคำสุภาพสำหรับบุคคลทั่วไปควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ใช้คำสรรพนามที่แสดงความสุภาพ เช่น คุณ ผม ดิฉัน กระผม

2.ใช้คำขยายเพื่อให้สุภาพ เช่นคำว่า กรุณา ขอโทษ โปรด อนุเคราะห์ เป็นต้น

3. ใช้คำลงท้าย หรือคำเรียกขานทุกครั้งที่จบคำถามหรือคำตอบ คำเหล่านี้ เช่นคำว่า ครับ ค่ะ ขา เป็นต้น

4. ไม่เป็นคำหยาบ เช่น ขี้ เยี่ยว อ้าย อี การใช้ว่า อุจจาระ ปัสสาวะ สิ่งนี้ สิ่งนั้น โรคกลาก( ขี้กลาก ) นางเห็น( อีเห็น )

5. ไม่เป็นคำผวน คือ คำที่พูดกลับเสียงเดิมแล้วเป็นคำที่ไม่สุภาพ

คำราชาศัพท์ 9


ข้อควรจำเกี่ยวกับคำราชาศัพท์ที่มักใช้ผิดกันเสมอ
1. “ถวายการต้อนรับ” คำนี้ผิด ภาษาไทยมีคำใช้อยู่แล้ว คือ “เฝ้าฯ รับเสด็จ” หรือ “รับเสด็จ”

2. “ถวายความจงรักภักดี” ความจงรักภักดีเป็นของที่หยิบยื่นให้กันไม่ได้ เป็นสิ่งที่มีประจำตน แสดงปรากฏให้ทราบได้ ฉะนั้นใช้ “ถวาย” ไม่ได้ จึงควรใช้ “มีความจงรักภักดี”

3. “อาคันตุกะ” และ ”ราชอาคันตุกะ” ใช้ต่างกันดังนี้

“อาคันตุกะ” ใช้เมื่อ

ก. พระมหากษัตริย์เสด็จฯ ไปทรงเป็นแขกของบุคคลสำคัญ

ข. บุคคลสามัญไปเป็นแขกของบุคคลสามัญ

“ราชอาคันตุกะ” ใช้เมื่อ

ก. พระมหากษัตริย์เสด็จฯ ไปทรงเป็นแขกของพระมหากษัตริย์

ข. บุคคลสามัญไปเป็นแขกของพระมหากษัตริย์

สรุป คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นหลัก ถ้าเจ้าของบ้านเป็นพระมหากษัตริย์บุคคลทั่วไปที่เป็นแขกไม่ว่าจะเป็น พระมหากษัตริย์หรือบุคคลสามัญเป็น “ราชอาคันตุกะ” ทั้งสิ้น ในทำนองเดียวกัน ถ้าเจ้าของบ้านเป็นบุคคลสามัญ บุคคลที่ไปเป็นแขกไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือบุคคลสามัญเป็น “อาคันตุกะทั้งสิ้น” 4. การใช้คำ “ถวาย” มีใช้อยู่สองคำ คือ “ทูลเกล้าฯ ถวาย” และ “น้อมเกล้าฯ ถวาย” ใช้ต่างกันดังนี้

ก. ถ้าสิ่งของนั้นเป้นของเล็กใช้ “ทูลเกล้าฯ”

ข. ถ้าสิ่งของนั้นเป็นของใหญ่ใช้ “น้อมเกล้าฯ ถวาย” หรือ “ถวาย” เฉยๆ

5. คำว่า “ขอบใจ” ถ้าจะกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขอบใจ ก็ใช้ว่า “ทรงขอบใจ” หรือ“พระราชทานกระแสขอบใจ” ไม่ใช้ “ขอบพระทัย” เว้นแต่ผู้ที่ทรงขอบใจนั้นเป็นพระราชวงศ์จึงใช้ “ขอบพระทัย”ได้ เมื่อกล่าวถึงการแสดงใด ๆ ถวายทอดพระเนตร มักจะใช้ว่า “แสดงหน้าพระพักตร์” หรือ “แสดงหน้าพระที่นั่ง” ซึ่งผิด ต้องใช้ว่า “แสดงเฉพาะพระพักตร์” หรือ “แสดงหน้าที่นั่ง”

6. ถ้ามีผู้ถวายสิ่งของ เช่น หมวก ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ ขณะที่ถวายนั้นต้องใช้คำสามัญจะใช้คำราชาศัพท์มิได้ เพราะสิ่งของนั้นยังมิได้เป็นของพระองค์ท่าน เช่น

- เจ้าของร้านทูลเกล้าฯ ถวายหมวกแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี

- ผู้แทนนักศึกษาทูลเกล้าฯ ถวายผ้าเช็ดหน้าแด่สมเด็จพระเทพฯ

7. หมายกำหนดการ หมายถึง หมายรับคำสั่งที่ทางสำนักพระราชวังแจ้งกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปยังหน่วยราชการ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ใช้เฉพาะกับงานพระราชพิธีเท่านั้น ถ้าเป็นกิจการทั่วๆไปของ สามัญชนใช้ว่า กำหนดการ เช่น กำหนดการเดินทาง กำหนดการสัมมนา เป็นต้น

8. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คำที่เรียกพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินมีหลายคำ ปัจจุบันใช่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ถ้าได้สำเร็จราชการแผ่นดินก็เป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่ใส่ “ ฯ ” ไว้ท้ายคำ “สมเด็จพระนางเจ้า” นั้นเพื่อให้ทราบว่าละพระนามไว้ ถ้าออกพระนามเต็มก็วางไว้ แทนที่ “ ฯ ” เช่น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ถ้าเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ประเทศอื่นให้เรียก สมเด็จพระราชินี ถ้าประเทศใดมีสตรีเป็นกษัตริย์ให้ใช้ว่า “สมเด็จพระราชินีนาถ”

9. พระบรมสาทิสลักษณ์ หรือ พระบรมฉายาทิสลักษณ์ คือ ภาพเหมือนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง เป็นภาพวาดมิใช่ภาพถ่าย ถ้าภาพถ่ายใช้ พระบรมฉายาลักษณ์