วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

คำราชาศัพท์ 8


การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุ

พระภิกษุ ถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลทั่วไป การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุจึงกำหนดไว้ขึ้นอีกต่างหากโดยเฉพาะ การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุโดยทั่วไป มีข้อควรสังเกตคือวิธีใช้แตกต่างจากวิธีใช้ราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ กล่าวคือ สำหรับพระภิกษุนั้นไม่ว่าบุคคลอื่นจะพูดกับท่าน หรือกล่าวถึงท่าน หรือเมื่อท่านพูดเองก็ตาม จะใช้ศัพท์อย่างเดียวกันตลอดไป เช่น คำว่า อาหาร จำวัด เป็นต้น การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุนี้ แบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่พระภิกษุใช้ กับส่วนที่ผู้ที่เป็นฆราวาสใช้กับพระภิกษุ ดังนี้ คำกริยาที่เป็นคำราชาศัพท์ซึ่งจะพบมากในการเขียนและการพูด จะมีข้อสังเกตคือ มักจะใช้คำว่า "ทรง " นำหน้าคำกริยาหรือคำนาม ทำให้กลายเป็นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์ได้ เช่น คำสำหรับพระภิกษุใช้ นอกจากคำศัพท์เฉพาะแล้มีการใช้คำสรรพนามที่ต่างออกไป
การใช้ถ้อยคำสุภาพสำหรับคนทั่วไป
การใช้ถ้อยคำสุภาพสำหรับบุคคลทั่วไป จะต้องรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล โดยคำนึงถึงฐานะความสัมพันธ์ที่มีอยู่ การใช้ถ้อยคำสุภาพสำหรับบุคคลทั่วไปควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ใช้คำสรรพนามที่แสดงความสุภาพ เช่น คุณ ผม ดิฉัน กระผม

2.ใช้คำขยายเพื่อให้สุภาพ เช่นคำว่า กรุณา ขอโทษ โปรด อนุเคราะห์ เป็นต้น

3. ใช้คำลงท้าย หรือคำเรียกขานทุกครั้งที่จบคำถามหรือคำตอบ คำเหล่านี้ เช่นคำว่า ครับ ค่ะ ขา เป็นต้น

4. ไม่เป็นคำหยาบ เช่น ขี้ เยี่ยว อ้าย อี การใช้ว่า อุจจาระ ปัสสาวะ สิ่งนี้ สิ่งนั้น โรคกลาก( ขี้กลาก ) นางเห็น( อีเห็น )

5. ไม่เป็นคำผวน คือ คำที่พูดกลับเสียงเดิมแล้วเป็นคำที่ไม่สุภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น